วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ทนายความในจังหวัดสุพรรณบุรี

    รับว่าความทั่วราชอาณาจักร ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ตั้งผู้จัดการมรดก รับปรึกษาและดำเนินคดีภาษี คดีล้มละลาย คดีปกครอง คดีแรงงาน รับจดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท รับเป็นที่ปรึกษากฎหมายทั้งบุคลและนิติบุคคล รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ จัดทำเอกสารทางกฎหมายร่างนิติกรรมสัญญา บริการบังคับคดี การติดตามทวงถาม เจรจาให้ลูกหนี้ชำระหนี้โดยไม่ต้องดำเนินคดี การสืบหาตัวของลูกหนี้ และการสืบหากรรมสิทธิ์ที่ดินและทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ ติดตามสืบจับตัวลูกหนี้หรือจำเลยในคดีอาญา ดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล อาทิ การยึดทรัพย์ การขายทอดตลาดทรัพย์ และการรับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์

โดยทนายสาธิต สีน้ำเงิน
ติดต่อโทร. 083-7137027
E-mail : outlaws191@gmail.com
9/1 หมู่ 6 ต.สนามคลี อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี 72230
อัตราค่าบริการในการดำเนินคดี คลิกที่นี่

การขอเป็นผู้จัดการมรดก

การขอเป็นผู้จัดการมรดก
            มื่อเจ้ามรดกตาย  ทรัพย์สมบัติของเจ้ามรดกซึ่งเรามักเรียกกันว่ากองมรดก เช่น ที่ดิน เงินฝากธนาคาร เงินที่เขายืมไป ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล บ้านช่อง ย่องตกเป็นของทายาททันที และก็ยังรวมถึงหนี้สินด้วย คือ เจ้ามรดกไปยืมเงินใครเขาไว้หรือเป็นหนี้เขา ค้างค่าเช่าบ้าน พวกนี้เป็นพวกความรับผิดก็ตกทอดมาถึงทายาทเหมือนกัน  แต่ก็รับผิดในฐานะเป็นทายาทเท่านั้นไม่ใช้ฐานะส่วนตัว
            แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม  ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินก็จะปฎิเสธบ้าง ลูกหนี้เจ้ามรดกปฎิเสธบ้าง หรือแม้จะไปเบิกเงินธนาคารๆ ก็ปฎิเสธบ้างว่า ต้องนำเอาคำสั่งศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้นศาลได้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว       มิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้
            จึงมีความจำเป็นที่ทายาทจะต้องไปดำเนินการขอให้ศาลแต่งตั้งตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งก็จะเสียเวลาพอสมควรกว่าจะยื่นคำร้องขอและกว่าจะไต่สวนคำร้องและศาลมีคำสั่ง  ประเหมาะเคราะห์ร้ายมีคนอื่นคัดค้านเข้ามาอีกก็ยิ่งเสียเวลาไปอีก ความจริงกฎหมายก็มิได้บังคับไว้ว่าหากเจ้ามรดกตายแล้วต้องตั้งผู้จัดการมรดก  แต่ถ้ามีเหตุขัดข้องจึงตั้งจึงเป็นข้อคิดสำหรับผู้เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคาร หากเป็นเงินจำนวนเพียงเล็กน้อย ก็ควรจะจ่ายให้ทายาทเขาไปเลย  เพียงแต่ให้มีความละเอียดรอบคอบหน่อยว่าเขาเป็นทายาทหรือไม่ เช่นจัดให้มีคนที่เชื่อถือได้รับรองหรือค้ำประกันว่าเขาเป็นทายาทจริง  เช่นนี้ก็จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
            ส่วนศาลเองก็ควรผ่อนสั้นผ่อนเบาให้ โดยจัดให้มีแบบคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแบบง่ายๆไว้ให้ หากเป็นมรดกจำนวนเล็กน้อย โดยมีประชาสัมพันธ์ศาลช่วยแนะนำ ซึ่งทราบว่าทางปฏิบัติก็มีอยู่  นับว่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนโดยแท้จริง ถือได้ว่าเป็นที่พึ่งของประชาชนจริงๆ อย่างไรก็ดี หากเป็นมรดกรายใหญ่มีมากมาย มีเรื่องซับซ้อนยุ่งยากหรือมีผู้ยื่นคัดค้านเข้ามา เช่นนี้ก็จำเป็นที่จะตั้งผู้มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยโดยตรงคือควรมีทนายความเข้ามาดำเนินการแทนจะปลอดภัยกว่า เพราะทนายเป็นผู้ใช้กฎหมายอยู่โดยตรง
          การขอเป็นผู้จัดการมรดกนั้นมีข้อที่ควรรู้ไว้ดังนี้

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกฟ้อง

ข้อควรปฏิบัติเมื่อถูกฟ้อง

     1. เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยควรปรึกษาทนายความและแต่งตั้งทนายความเพื่อว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทน
     2. เมื่อจำเลยได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การ จะต้องยื่นคำให้การภายในกำหนดซึ่งระยะเวลาในการยื่นคำให้การนั้นมีความแตกต่างกันดังนี้    
   
      - คดีทั่วไป จำเลยต้องทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาล             ภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง            

      - คดีมโนสาเร่ เมื่อศาลออกหมายเรียกไปยังจำเลยให้มาศาลและให้จำเลยให้การในวันมาศาล          
      -  คดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลจะกำหนดระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การภายในวันใดวันหนึ่งตามที่ศาลจะเห็นสมควรกำหนดก็ได้              3. การนับระยะเวลายื่นคำให้การจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องหรือบุคคลอื่นที่อายุเกิน 20 ปี ซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือที่ทำงานเดียวกับจำเลยรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนจำเลยอย่างไรก็ตามหากเป็นกรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่น เช่น เจ้าหน้าที่ศาลปิดหมายเรียกและสำเนาฟ้องไว้ที่บ้านหรือที่ทำงานของจำเลยหรือประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์       
     การนับระยะเวลาจะเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน  นับแต่วันปิด หรือวันประกาศโฆษณา กล่าวง่ายๆ ก็คือ  จำเลยได้เวลาเพิ่มอีก 15 วัน หากจำเลยไม่สามารถยื่นคำให้การภายในกำหนดได้ เช่น มีเอกสารหลักฐานในการต่อสู้คดีจำนวนมากจำเลยก็อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายระยะเวลายื่นคำให้การได้โดยต้องมีเหตุผลพิเศษอ้างเหตุที่ขอขยายระยะเวลานั้น  และเป็นดุลพินิจของศาลที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาก็ได้ทนายความในจังหวัดสุพรรณบุรี 
ทนายสาธิต สีน้ำเงิน